องค์กรครูจี้ศธ.ลดดอกเบี้ยแก้หนี้ครู
นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์การวิชาชีพครูเพื่อความโปร่งใส(กป.คป.)เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาหนี้สินครู ว่า ศธ.ตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาชีวิตครูให้ดีขึ้น แต่ปัจจุบันการบริหารงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา โดยพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางปรับลดดอกเบี้ยให้ครูที่เป็นหนี้ ซึ่งเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ส่วนที่ ศธ.จะให้ความช่วยเหลือครูที่กู้เงินเพื่อนำไปรักษาบุพการีหรือกู้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้กับบุตรเป็นกลุ่มแรกก่อนนั้น มองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยขาดหลักนิติธรรมเพราะครูทุกคนควรได้รับความช่วยเหลือเท่าเทียมกัน
7 วิชาชีพที่เคลื่อนย้ายแรงงานสูงสุด หลังเปิด เออีซี
อธิการบดี ชี้ เปิดAEC 7 วิชาชีพที่เคลื่อนย้ายแรงงานสูงสุด
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจความพึงพอใจความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อมหาวิทยาลัย ประจำปี 2557 ในกลุ่มนายจ้างของบัณฑิตมธ. จำนวนกว่า 2 พันตัวอย่าง พบว่ามีความชื่นชอบและเชื่อมั่นในศักยภาพของบัณฑิตมธ. ขณะเดียวกัน มธ. ยังได้รับการประเมินระดับ 5 ดาว จาก QS World University Rating ด้าน Employability หรือ การจ้างงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยจากสถาบันจัดอันดับและประเมินมาตรฐานด้านการศึกษาระดับโลก (QS) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา เช่น การสอบสัมภาษณ์ที่แสดงออกถึงความรู้ความสามารถในสาขาวิชานั้นๆ ความพร้อมและความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมตลอดจนอัตราการจ้างงานบัณฑิต ที่มีกำหนดว่าบัณฑิตกว่า 90 % สามารถหางานทำได้ภายใน 1 ปี หลังเรียนจบ ฯลฯ
Advertisement
“ปัจจุบัน มธ. สามารถผลิตบัณฑิตออกสู่สู่ตลาดแรงงานปีละกว่า 9 พันคน เน้นพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตทางด้านภาษา ด้านวิชาการ และคุณสมบัติของการเป็นผู้นำในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นโล
วิธีการเข้าสู่อาชีพราชการ..อยากบรรจุเข้ารับราชการ ต้องทำอย่างไร?
วิธีการเข้าสู่อาชีพราชการ...
อาชีพ "ราชการ" เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากระบบราชการเป็นฟันเฟืองที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้ บังเกิดผล นำพาประเทศชาติ สังคมไปสู่ความเจริญ สงบสุข และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” คือ ข้าราชการที่ทำงานอยู่ในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยกเว้น ครู ทหาร ตำรวจ อัยการ ตุลาการ หรือข้าราชการท้องถิ่น เป็นต้น ผู้สนใจที่เข้ารับราชการพลเรือนสามัญ ต้องสมัครสอบแข่งขัน หรือสมัครคัดเลือก ตามหลักสูตรที่กำหนด ดังนี้
การสอบแข่งขัน
1. สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ที่สำนักงาน ก.พ. จัดสอบเป็นประจำทุกปี ซึ่งรับสมัครทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว และผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย ของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี หรือปริญญาโท โดยจะประกาศรับสมัครสอบ ประมาณเดือน ก.พ. – มี.ค. ของทุกปี ดูรายละเอียดได้ที่ http://job3.ocsc.go.th เมื่อสอบผ่านแล้ว สำนักงาน ก.พ. จะส่งหนังสือรับรองการสอบผ่านให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ในใบสมัครสอบ
อ่านต่อได้ที่: http://www.
เล็งขยายอายุเกษียณจาก 60 เป็น 65 ปี
เล็งขยายอายุเกษียณจาก 60 เป็น 65 ปี
เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ห้องราชา 2 ชั้น 11 โรงแรมปรินซ์ พาเลซ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ครั้งที่ 4/2558 ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประชุมสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ พ.ศ.2558 ใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1.การส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ 2.บทบาทของภาคเอกชนในยุคสังคมสูงวัย 3.การจัดการการสัญจรและระบบขนส่งสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ 4.ความพร้อมด้านวัฒนธรรม และ 5.พลังผู้สูงอายุไทยต้นแบบผู้สูงวัยอาเซียน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ในที่ประชุมยังพิจารณาแนวทางการพัฒนาบทบาทการดำเนินงานของกองทุนผู้สูงอายุ โดยมีข้อสังเกตถึงการจัดการกองทุนที่ยังไม่ครอบคลุมในทุกมิติ เนื่องจากเน้นสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมและเป็นทุนกู้ยืม แต่ยังไม่เห็นมิติของการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม รวมถึงการสนับสนุนองค์กรที่ให้คำแนะนำปรึกษาหรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในทางคดี จึงเสนอให้คณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูง
ชงแผนผลิตคุรุทายาทสายช่างป้อนอาชีวศึกษา
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยความคืบหน้าโครงการคุรุทายาท 15 ปี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มทร.ทั้ง 9 แห่ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า 3 แห่ง และอาชีวศึกษา ว่า ได้วางแนวทางไว้ 3 ด้าน คือ 1. การจัดหลักสูตรการสอนคุรุทายาท โดยจะมีการมอบทุนให้นักเรียนที่เรียนดี เพื่อผลิตเป็นครูอาชีวศึกษา 2. พัฒนาแหล่งผลิต โดยจะร่วมมือกันพัฒนาเครื่องมือ ห้องแล็บ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ 3. การฝึกอบรมเด็กที่จบจากโครงการคุรุทายาท อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี โดยทุกปีเด็กที่จบจะต้องมาฝึกวิชาชีพเพิ่มเติม รวมถึงครูช่างที่อยู่ในระบบแล้วจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้ครูช่างที่อยู่ในระบบ เข้ามาต่อยอดเรียนในระดับปริญญาโท-เอก เพื่อพัฒนาด้านวุฒิการศึกษา รองรับการขยายตัวของอาชีวะที่จะจัดการเรียนสอนในระดับที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แผนงานเหล่านี้ได้นำเสนอต่อ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาต่อไป
เกณฑ์วิทยฐานะครูแนวใหม่ ไม่เน้นเอกสารกองโต คนอื่นเสนอขอให้ได้ อนาคตอาจเหลือช่องทางนี้อย่างเดียว
จากข่าว เริ่มเห็นแววเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ และ เกณฑ์วิทยฐานะครูใหม่ชัดเป๊ะ ขอได้ถ้าสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ปี ที่ครูบ้านนอกดอทคอมได้นำเสนอกรณีที่ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการวิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางานเลื่อนทำงานปรับปรุงหลักเกณฑ์วิทยฐานะครูใหม่ (Performance Agreement : PA) ที่ตนเป็นประธาน ว่า
ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ การทำเอกสารรวบรวมผลงานครูเพื่อขอวิทยฐานะ ควรให้ครูทำเป็นกิจวัตรทุกปีการศึกษาตั้งแต่เริ่มเป็นครู ซึ่งครูที่จะสามารถขอวิทยฐานะขั้นต้น คือ ชำนาญการได้ ต้องสอนมาเป็นเวลา 8 ปีก่อน โดยภายใน 8 ปีนั้น หากครูมีผลงานเชิงประจักษ์ก็สามารถยื่นขอวิทยฐานะได้ เช่น ใช้ผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของนักเรียนที่ครูเป็นผู้สอนในการยื่น โดยคะแนนต้องอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย หรือ Mean เป็นต้น และหากจะขอระดับชำนาญการพิเศษ นักเรียนอาจจะต้องมีผลคะแนนโอเน็ตต้องสูงกว่าค่าเฉลี่ยกี่เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องมีการลงรายละเอียด
ชี้ปรับโครงสร้างทำข้าราชการแตกตื่น
ห่วงตำแหน่งหายกลบปฏิรูปเรียนรู้ แฉคนในทำเองไม่มีทางสำเร็จ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยสลายองค์กรหลักและกลับเป็นกรมตามเดิม โดยให้ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. เป็นประธานคณะทำงานทบทวนบทบาท ภารกิจ และโครงสร้าง ศธ. นั้น ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในฐานะที่ตนเป็นอนุกรรมการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... และอนุกรรมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574 ซึ่งได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้วเกือบร้อยละ 80 ดังนั้น ขณะนี้จึงนับได้ว่าถึงเวลาที่เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องกับกฎหมายและแผนการศึกษาชาติที่กำลังปรับปรุงอยู่ ซึ่งเน้นที่ภารกิจ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มภารกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแผนการศึกษา อาทิ สภาการศึกษา 2.กลุ่มผู้กำกับการศึกษา ได้แก่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.), 3.กลุ่มผู้จัดการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ ภาคเอกชน, 4.กลุ่มผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา อาทิ สำนักงานส