ข่าวการศึกษา

คลังห่วงหนี้เสียครูกระทบออมสิน
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงการคลังได้สั่งให้ธนาคารออมสินเร่งแก้ปัญหาหนี้เสียจากการปล่อยสินเชื่อครูเป็นการเร่งด่วน หลังจากที่มีการประเมินว่าจะเกิดเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จนจะส่งผลกระทบต่อฐานะและผลการดำเนินงานของธนาคารปีนี้ได้ ปัจจุบันธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อครูเป็นวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท แต่ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้มีการประเมินว่าหากไม่เร่งดำเนินการใดๆ ยอดหนี้เสียครูอาจเพิ่มได้ถึง 8 หมื่นล้านบาท และผลจากหนี้เสียดังกล่าวจะกระทบต่อการตั้งสำรองหนี้เสียที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน ทั้งนี้ คาดว่าในเดือน พ.ย. 2558 ต้องตั้งสำรอง 8,000 ล้านบาท และในเดือน ธ.ค. 2558 อีก 1.9 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเงินต้องตั้งสำรอง 2.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งมากกว่ากำไรทั้งปีของธนาคารออมสิน ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 1.5-1.6 หมื่นล้านบาท

กก.อำนวยการปฏิรูปฯถกลดภาระครู30ต.ค.
กก.อำนวยการปฏิรูปฯถกลดภาระครู30ต.ค. เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมหารือตัวชี้วัดการประเมินภายในสถานศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการประเมินภายใน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นายเกียรติวรรณ อมาตยกุล หัวหน้าคณะทำงานตามนโยบายลดภาระครู ได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวให้ที่ประชุมได้รับทราบ ถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายลดภาระครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เบื้องต้นมีข้อเสนอให้เขตพื้นที่ฯ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานของครูในพื้นที่ฯให้ชัดเจน จากเดิมที่ให้โรงเรียนดำเนินการเอง รวมถึงลดภาระเรื่องการประเมินสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอก ที่ครูต้องกรอกเอกสารจำนวนมาก เป็นต้น จากนี้จะนำข้อสรุปทั้งหมดเสนอคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธานพิจารณา หากคณะกรรมการอำนวยการฯ เห็นชอบในวันที่ 30 ตุลาคม ตนจะมอบนโยบายนี้ไปยังทุกเขตพื้นที่ฯ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แล้วส่งข้อเสนอแนะกลับมายังคณะทำงาน เพื่อปรับแต่งครั้งสุด

ศธ.เล็งแยกกรมวิชาการจาก สพฐ.
รมว.ศึกษาธิการ เตรียมรายงานนโยบายเดินหน้าลดเวลาเรียน และยกระดับภาษาอังกฤษ ให้ซูเปอร์บอร์ดทราบ เล็งปรับโครงสร้าง ศธ.แยกกรมวิชาการออกจาก สพฐ. วันนี้ (26ต.ค.)พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือ ซูเปอร์บอร์ดการศึกษาที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 30ต.ค.นี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะนำเรื่องนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การโอนอาชีวศึกษาเอกชนมาอยู่กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) และการปฏิรูปการศึกษา ให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งขณะนี้ตนมีแผนอยู่ในใจแล้วว่า จะปฏิรูปอะไรอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งมีทั้งการปฏิรูประบบการจัดการศึกษา การปฏิรูประบบริหาร การปฏิรูปคน การปฎิรูประบบงบประมาณ และการปฏิรูปโครงสร้าง ซึ่งส่วนหนึ่งตนได้รับข้อเสนอจากทั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มารวมกับสิ่งที่ ศธ.คิดอย่างไรก็ตามในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างขณะนี้ยังไม่ลงตัว คงต้องหารือร่วมกับผู้บริหารองค์การหลักของ ศธ.เพื่อหาข้อสรุปก่อน

"ยึดทรัพย์-ขึ้นเครดิตบูโร" ถึงเวลา กยศ.ใช้"ยาแรง"
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สร้างโอกาสให้แก่น้องๆ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษามากขึ้น นับตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนจนปัจจุบัน 20 ปี กยศ.ใช้เงินจากภาษีประชาชนปล่อยกู้ไปแล้วกว่า 4 ล้านราย วงเงินกว่า 4 แสนล้านบาท แต่ผลตอบแทนกลับมาน่าใจหาย เมื่อพบว่ามีน้องๆ ที่ครบกำหนดชำระเงินกู้ ได้ชำระคืนแค่ 40% ส่วนอีก 60% ค้างชำระ!! กลุ่มที่ค้างชำระ 60% แยกเป็นกลุ่มที่ไม่ตั้งใจเบี้ยวหนี้ แต่เพราะตกงานหรือมีเงินเดือนไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ กลุ่มนี้นับเป็นความสูญเสียที่เกิดจากรัฐบาลบริหารผิดพลาดโดยไม่ได้พิจารณาว่าสาขาตลอดจนตัวผู้กู้เอง มีศักยภาพพอที่จะชดใช้หนี้ได้หรือไม่ อีกกลุ่มคือกลุ่มที่มีงานทำและได้รับเงินเดือนเพียงพอที่จะชดใช้หนี้ แต่กลับละเลยไม่ชำระซึ่งเคยมีการสำรวจพบว่าผู้ที่จบสาขาแพทย์ พยาบาล และ

ชู 3 เทคนิคสอนภาษาอังกฤษ
สมาคมฯ ร.ร.อนุบาล รับแม่งานฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษ จับมือ พว. - ม.เคมบริดจ์ ชู 3 เทคนิค การสอนภาษาอังกฤษประสิทธิภาพสูง นายสำเริง กุจิระพันธ์ รองเลขาธิการคุรุสภา และนายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมฯร่วมกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) และสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จัดอบรมเรื่องเทคนิคการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในปัจจุบันภาพรวมโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดส่วนใหญ่มีคุณภาพที่ดีอยู่แล้ว หาก พว. จะเข้ามาช่วยพัฒนากระบวนการและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเริ่มจากโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดก่อนที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนอนุบาลระดับอื่น ๆ ต่อไป

"ธีระเกียรติ" แฉ สกอ.ถูกร้องทำเกินหน้าที่
สั่งปรับปรุง-รื้อประกันภายใน ประธาน ทปอ.หนุนขจัดเหลือบอุดมฯ จากการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ ไทย (ทปอ.) ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ มอบนโยบาย ทปอ. ตอนหนึ่ง ว่า 2 เดือนที่ตนทำงานใน ศธ. ได้รับเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มากที่สุด โดย 80% ของเรื่องร้องเรียนเป็นเรื่องความชอบธรรมและเรื่องที่ สกอ.เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก สกอ.สั่งการและเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนการสอน การประเมิน ทั้งที่มหาวิทยาลัยมีคนเก่งมากอยู่แล้ว จึงควรมีอิสระในการทำงาน ซึ่งถือเป็นการทำเกินหน้าที่ ดังนั้น จึงควรต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องการประเมินคุณภาพภายในตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพหรือทีคิวเอฟ ซึ่ง

เอกชนกับสพฐ.
เลาะเลียบคลองผดุงฯ ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อันมีโรงเรียนมัธยมฯและประถมศึกษาในสังกัดทั่วประเทศ รวมถึงสถานศึกษาที่อยู่ในความดูแลของภาครัฐทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างชะเง้อรอดูว่ารมว.ศธ.จะมีนโยบายในการปฏิรูปการศึกษาจะมีอะไรตามมาอีก จึงทำให้เห็นเพียงภาพเตรียมพร้อมที่จะทำอย่างคึกคักเท่านั้น

สวัสดิการสังคม ?
สวัสดิการสังคม ในความหมายแคบ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกของประชาสังคมที่ไม่มีศักยภาพพอที่จะเลี้ยงชีพตนเองได้ ไม่ว่าจะชั่วคราวหรือตลอดชีวิต ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการพยุงฐานะ พัฒนาศักยภาพ และสร้างโอกาสให้มีงานทำ และในความหมายกว้าง สวัสดิการสังคม (Social Welfare) หมายถึง ระบบการจัดบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสม เป็นธรรม และให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและการมีรายได้ กีฬาและนันทนาการ กระบวนการยุติกรรม และบริการทางสังคมทั่วไป โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิที่ประชาชนจะต้องได้รับ และการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ

"ดาว์พงษ์" สั่งฟัน ขรก.เซ่นทุจริตครูผู้ช่วย ลั่นต้องยึดผลสอบวินัย
อ.ก.พ.ต้นสังกัดรับลูกจ่อเชือด“ชินภัทร”และพวก นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้นำ ผลการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง นายชินภัทร ภูมิรัตน อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และพวกรวม 6 คน กรณีการทุจริตสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว 12 ที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงที่มีนายอภิชาต จีระวุฒิ ได้ สรุปผลการสอบสวนส่งให้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการพิจารณา ซึ่ง พล.อ.ดาว์พงษ์ สั่งการให้ต้นสังกัดดำเนินการลงโทษตามที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงเสนอ โดยในส่วนของนายชินภัทร ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับ 11 ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สพฐ. ทำหน้าที่แทน อ.ก.พ.กระทรวง ที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ส่วนคนอื่นๆ ให้ อ.ก.พ.ต้นสังกัดคือ สพฐ. และสำนักงานปลัด ศธ. ดำเนินการ ซึ่งเท่าที่ดูมีทั้งผู้ที่ได้รับโทษปลดออกและไล่ออก ในจำนวนนี้มีผู้ ที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว และยังไม่เกษียณ

ปลุกครูพึ่งตนเองปฏิรูปการศึกษา
ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องทำตลอดเวลา ไม่ควรฝากความหวังการปฏิรูปการศึกษาไว้ที่คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา แต่ควรให้ความสำคัญกับครูและผู้บริหารโรงเรียน แม้ว่าเราจะมีกฎหมายการศึกษาที่กำหนดให้ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดนโยบายและจัดสรรงบประมาณ แต่หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ครูและผู้บริหารโรงเรียน แม้ครูและผู้บริหารจะรู้สึกหวั่นไหวเมื่อเปลี่ยนรัฐมนตรีซึ่งนโยบายก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย เป็นสาเหตุที่ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าการปฏิรูปการศึกษาทำให้เหนื่อย ทุกคนขยันทำงานและเหนื่อย ใช้งบฯ มาก แต่การศึกษาไม่ดีขึ้น เราจึงควรต้องทบทวนคุณภาพการศึกษาใหม่ โดยพิจารณาดัชนีชี้วัดคุณภาพการศึกษาที่มีจำนวนมากที่เราใช้อยู่เป็นสิ่งที่สะท้อนคุณภาพการศึกษาจริงหรือไม่ อาจเป็นหลุมพรางหรือกับดักการศึกษาหรือไม่ สิ่งที่ตนอยากเสนอคือ อยากให้ครูมีกรอบความคิด หรือ mindset ที่ถูกต้องในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ แม้จะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการศึกษาไปอย่างไร แต่ครูและผู้บริหารโรงเรียนก็ต้องมีกรอบความคิดที่ถูกต้อง เช่น มองนักเรียนทุกคนสามารถ พัฒน

หน้า